เสียง



         
   พลังงานการสั่นสะเทือนจากแหล่งกำเนิดเสียงจะถ่ายโอนผ่านตัวกลาง ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่นไปมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันในตัวกลางทำให้เกิดคลื่นอัด-ขยาย แผ่ไปในตัวกลางที่คลื่นเสียงเคลื่อนผ่าน


ธรรมชาติของเสียง
อัตราเร็วเสียง V  ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของตัวกลาง


ความถี่เสียง f   
-เป็นตัวบอกระดับเสียง ถ้ามีความถี่สูง เสียงแหลม แต่ถ้าความถี่ต่ำ เสียงทุ้ม
-ช่วงความถี่ที่มนุษย์ทั่วไปได้ยิน จะมีค่า 20-20,000 Hzถ้าความถี่เสียงที่ต่ำกว่าช่วง เรียกว่า คลื่นใต้เสียง (infrasonic)ถ้าความถี่เสียงที่สูงกว่าช่วง เรียกว่า คลื่นเหนือเสียง(ultrasonic)

การสะท้อนของเสียง(กระทบสิ่งกีดขวาง)
     เสียงสะท้อนกลับ เกิดจากเสียงที่สะท้อนลับมาสู่หูของเราช้ากว่าเสียงที่เราตะโกนออกไป เกิน 0.13
(เป็นเวลาที่ประสาทหูจะสามารถแยกเสียงนั้นได้พอดี) สียงก้อง (Echo) เกิดจากผู้ฟังได้ยินเสียงสะท้อนต่อเนื่องกันหลายๆครั้งในขณะที่แหล่งกำเนิดเสียงหยุดทำงาน




การหักเหของเสียง(ผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นหรืออุณหภูมิต่างกัน)
     ถ้าที่บริเวณอุณหภูมิสูง เสียงจะเคลื่อนที่เร็ว แต่ถ้าที่บริเวณอุณหภูมิต่ำ เสียงจะเคลื่อนที่ช้า       
เมื่อเสียงเคลื่อนที่จากบริเวณอุณหภูมิสูงไปอุณหภูมิต่ำคลื่นแสงที่หักเหจะเบนเข้าหาเส้นปกติ
การได้ยินเสียง
  ให้แหล่งกำเนิดมีลักษณะเป็นจุด ซึ่งแผ่กำลังออกมาได้ในทุกทิศทางโดยมีพื้นที่รองรับในแนวตั้งฉากกับทิศการแผ่เป็นรูปทรงกลม


ความเข้มเสียง I คือ กำลังเสียงที่ตกตั้งฉากลงบนหนึ่งหน่วยพื้นที่
P=กำลังเสียงหรือพลังงานเสียงที่กระจายออกจากแหล่งกำเนิดเสียงในหนึ่งหน่วยเวลา
A= พื้นที่รองรับ
ระดับความเข้มเสียง B


ผลของความถี่และระดับเสียงที่มีต่อการได้ยิน

ที่ความที f=50 Hz จะเริ่มได้ยินที่ระดับเสียงประมาณ 58 dB จะเริ่มเจ็บปวดที่ระดับเสียงประมาณ 130 dB
ที่ความถี่ f=10,000 Hz จะเริ่มได้ยินที่ระดับเสียงประมาณ 7 dB จะเริ่มเจ็บปวดที่ระดับเสียงประมาณ 120 dB

ปรากฏการณ์เกี่ยวกับเสียง
บีตและคลื่นนิ่งของเสียง คนจะสามารถจำแนกเสียงบีตที่มีความถี่บีตไม่เกิน 7 Hz
บีต (beats) เกิดจากการรวมคลื่นของคลื่นเสียงที่มีค่าความถี่ต่างกันเล็กน้อยทำให้ได้ยินเป็นจังหวะเสียงดังสลับค่อยเป็นจังหวะคงที่
คลื่นนิ่งของเสียง (standing wave) คือ คลื่นสองขบวนเคลื่อนที่สวนกันทำให้เกิดการแทรกสอดแบบเสริมกันเกิดจุดปฎิบัพ (เสียงดัง) และแบบหักล้างเกิดจุดบัพ (เสียงค่อย) ทำให้เราได้ยินเสียงดังค่อยสลับกันไปเมื่อเราอยู่ในจุดนั้นๆ




การสั่นพ้องของเสียง (sound resonance) n คือ จำ จำนวนการสั่นพ้อง
 เมื่ออากาศในท่อถูกกระตุ้นด้วยคลื่นเสียงที่มีความถี่เท่ากับความถี่ธรรมชาติของอากาศในท่อทำให้เมื่ออากาศในท่อถูกกระตุ้นด้วยคลื่นเสียงที่มีความถี่เท่ากับความถี่ธรรมชาติของอากาศในท่อทำให้เกิดการสั่นรุนแรงกว่าปกติและมีแอมพลิจูดสูงมากกว่าปกติทำให้เกิดเสียงดังขึ้น

ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ (Doppler Effect)
  ปรากฏการณ์ที่ผู้ฟังได้ยินเสียงที่มีความถี่เปลี่ยนไปจากความถี่แหล่งกำเนิดปรากฏการณ์ที่ผู้ฟังได้ยินเสียงที่มีความถี่เปลี่ยนไปจากความถี่แหล่งกำเนิดเนื่องจากมีการเคลื่อนที่
คลื่นกระแทก (Shock wave/shock Boom)
  ปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกตอยู่นิ่งได้ยินเสียงที่ดังมากจากแหล่งกำเนิดเสียงปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกตอยู่นิ่งได้ยินเสียงที่ดังมากจากแหล่งกำเนิดเสียงที่มีความเร็วมากกว่าความเร็วของเสียง




ความคิดเห็น